Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

Posts Tagged ‘วิจัย’

คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) จัดบรรยายพิเศษเรื่อง “บทบาทหน้าที่ของ สกสว. และการขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) เป็นวิทยากร โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมต้อนรับผู้อำนวยการ สกสว. และกล่าวเปิดการบรรยาย ซึ่งได้รับความสนใจจากนักวิจัยเข้าร่วมฟังบรรยายเป็นจำนวนมาก ในวันพุธที่ 7 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา เวลา 13.30-15.15 น. ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์มงคลสุข ก่อนร่วมหารือแผนขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (แผนด้าน ววน.) 2563-2565 กับผู้บริหารส่วนงานและนักวิจัยอาวุโสจากคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในการประชุมวิพากษ์แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำหรับการจัดเตรียมแผนการปฏิบัติการ ววน. ของหน่วยงาน โดยระดมความคิดหาจุดอ่อน จุดแข็งของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมในปัจจุบัน ไปจนถึงแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนระบบจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง หวังพัฒนาระบบสนับสนุนทุนผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิตและการแข่งขันของประเทศ รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมให้ดียิ่งขึ้น

30

Read Full Post »

02เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2560 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ได้รับรางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานในการอบรมเชิงปฏิบัติการทุนโครงการสนับสนุนการสร้างนักวิจัยแกนนำในการสร้างนวัตกรรม หรือ Leaders in Innovation Fellowships (LIF) ซึ่งทุนดังกล่าวสนับสนุนการสร้างศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการให้กับนักวิจัยของประเทศไทย และสนับสนุนให้ผลงานวิจัยเกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ รวมถึงการสร้างเครือข่ายของนักวิจัยและผู้ประกอบการในระดับนานาชาติ โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ The Royal Academy of Engineering (RAEng) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสหราชอาณาจักรในโครงการ Newton UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund เวทีนี้มีนักวิจัยไทยที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายรวม 15 คน

ศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศกล่าวถึงผลงานการตรวจวัดทางชีวภาพแบบการวัดสัญญานเรืองแสง (bioluminescence) ว่าเป็นวิธีที่มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาวิจัยด้านชีวการแพทย์ แต่เนื่องจากวิธีการนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้นักวิจัยส่วนใหญ่ที่มีทุนวิจัยน้อยไม่สามารถใช้เทคนิคดังกล่าวในการวิจัยได้ ปัจจุบันตลาดของการตรวจวัดเช่นนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน งานวิจัยที่พัฒนาขึ้นมีราคาถูกลงจึงส่งผลให้นักวิจัยในประเทศกำลังพัฒนาสามารถใช้การตรวจวัดดังกล่าวเพื่อตรวจสอบยีนหรือโมเลกุลที่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็ง โรคเขตร้อน และโรคอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่แพร่ระบาดในภูมิภาคของประเทศกำลังพัฒนา ตัวอย่างเช่น งานวิจัยเกี่ยวกับโรคมาเลเรีย ทั้งนี้คณะวิจัยได้ยื่นจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์จากเอนไซม์ลูซิเฟอเรส ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้เป็นเอนไซม์ที่ผลิตแสงและใช้ในการตรวจวัด โดยนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถลดค่าใช้จ่ายเหลือน้อยกว่าร้อยละ 10 เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์เดิมในท้องตลาด จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับนักวิจัยและยังสามารถขยายตลาดใหม่ ๆ ไปยังกลุ่มนักวิจัยที่มีทุนวิจัยจำกัดได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังวางแผนที่จะพัฒนาให้เอนไซม์ลูซิเฟอเรสนี้สามารถทำงานได้ในสิ่งมีชีวิต เพื่อก่อให้เกิดการเรืองแสงในตำแหน่งที่ต้องการศึกษาโรคในสัตว์ทดลองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งจะส่งผลให้นักวิจัยสามารถวินิจฉัยโรคและตรวจติดตามผลตอบสนองต่อการรักษาในสัตว์ทดลองโดยไม่จำเป็นต้องฆ่าสัตว์ทดลอง ณ เวลาต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการช่วยชีวิตสัตว์ทดลองจำนวนมหาศาลและได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าคณะวิจัยมีประสบการณ์สูงเกี่ยวกับการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมความสำเร็จในเชิงธุรกิจ โดยโปรแกรม การอบรมเชิงปฏิบัติที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ ที่ผ่านมานับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเริ่มต้นในเรื่องการบริหารธุรกิจและทักษะของผู้ประกอบการ การสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการและอาจารย์ผู้สอน รวมถึงการนำเสนอแผนธุรกิจ การเจรจาต่อรอง และการทำข้อตกลง

ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ http://science.mahidol.ac.th/th/activity/jan60-30.php

Read Full Post »

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายบริหาร และรักษาการแทนผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การออกแบบงานวิจัย (Research Design) โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ ทองไทย สาขาวิชาการวิจัยและประเมินทางการศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาเป็นวิทยากรบรรยาย โดยมีผู้ปฏิบัติงานภายในคณะวิทยาศาสตร์เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน

Untitled-1

ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ http://www.sc.mahidol.ac.th/tha/news/activity/2556/apr56-30.htm

Read Full Post »

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 เวลา 8.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ศาสตราจารย์ ดร. ศกรณ์ มงคลสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิด การบรรยายพิเศษ เรื่อง “การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย” โดยท่าน คณบดี ได้กล่าวเปิดงานมีใจความ ตอนหนึ่งว่า “ในวันนี้เป็นความโชคดีที่ได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงทางด้านการวิจัยมาพูดบรรยายเกี่ยวกับการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนจากหลายแหล่งทุน ซึ่งเหมาะสำหรับนักวิจัยทุกรุ่น ที่จะได้เพิ่มพูนความรู้ในการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย…” โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร. มนตรี จุฬาวัฒนทล ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช อุปนายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สชวท) และ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร. วิชัย ริ้วตระกูล ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ) และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC) มาเป็นวิทยากร การบรรยายพิเศษเรื่อง “การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย” เพื่อเสนอขอทุนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน และจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งแต่ละท่านได้ให้ความรู้เทคนิคในการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อให้ได้เงินจากแหล่งทุนต่าง ๆ

ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ http://www.sc.mahidol.ac.th/tha/news/activity/2555/jul55-31.htm

Read Full Post »